13-09-58 วันนี้มาสตาร์ทชาร์จไฟรถทิ้งไว้ เหลือบไปเห็นล้อหลังซ้ายทำไมมันแบนจัง? แต่ยังไม่ถึงล้อกะทะ (รถจอดชิดกำแพง) เลยถอยออกมาดูพบว่า เหยียบตะปูเกลียวปลายแหลมยาวประมาณ 1.5 ซม. ได้ จึงได้ถอดล้อออกมาล้างทำความสะอาด (ยังไม่ถอดตะปูออก) เตรียมใส่ไว้ในรถอีกคัน เพราะวันรุ่งขึ้นต้องไปทำธุระแถวบางกะปิ ขากลับแวะ b-quick อ่อนนุช เด็กที่ร้านได้เข้ามาสอบถาม ให้คำแนะ หลังจากได้พูดคุยอยู่สักพักก็ให้เด็กนำล้อไปปะร้อยใยไหม ใช้เวลาไม่นานประมาณ 15 นาทีก็เสร็จ ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ ก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกันทั้งที่ถามย้ำไปแล้วอีกครั้ง ดังนั้นผมขอสรุปข้อดี ข้อเสียดังนี้
ข้อดี :
- ที่เห็นชัดเจนคือเร็ว ประหยัดเวลา เซฟค่าใช้จ่าย ทำเองได้ สังเกตุได้จากหลายๆ ศูนย์ที่เราซื้อล้อ/ยาง/ซ่อมแม็กซ์ ทำสี จะมีบริการตัวนี้ฟรี! ตลอดอายุการใช้งาน นอกเหนือจากการสลับล้อ ถ่วงล้อ ตั้งศูนย์
- รูรั่วตั้งแต่ด้านในจนถึงผิวยางด้านนอกจะถูกยึดเกาะด้วยใยไหมเข้ากับโครงสร้างยาง เมื่อใช้ไปสักระยะจะสมานแผลให้เรียบเป็นเนื้อเดียวกัน ล้อใหม่สามารถใช้ได้นานตลอดอายุการใช้งาน
- หน้ายางไม่บวมเหมือนการปะสตรีมด้วยความร้อน เสียรูป ถ่วงล้อค่อนข้างยาก อายุยางสั้น
- ไม่มีสิ่งสกปรกแทรกซึมเข้าหน้างยางให้เสียโครงสร้าง ไม่ต้องถ่วงล้อ สลับยาง
- ไม่ส่งผลกระทบกับล้อแม็กซ์เรื่องริ้วรอยต่างๆ แน่นอน แต่ถ้าใส่ขอบ 17"-19" แท้ ลายสวย หายาก เข้าร้านปะยางทั่วไป ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำให้ จะแนะนำให้ไปเข้าศูนย์บริการ/ร้านใหญ่ทั่วไปแทน
ข้อเสีย :
- ต้องเจาะ/คว้านรูให้สามารถแทงเข็มร้อยใยไหมลงไปได้
- ไม่สามารถใช้กับแผลที่รูกว้างเกินไป แผลที่ฉีกขาด หรือเป็นแนวยาวได้
- ใช้กับล้อใหม่ สดเท่านั้น ไม่เหมาะกับล้อเก่า ยางเปอร์เซ็น มือสองใช้แล้ว เนื่องจากอายุยาง+จุดร้อยใยไหมอาจไม่เกาะยึดเป็นเนื้อเดียวกัน โอกาสรั่วซึมมีสูง
- จุดรอยปะไม่สวย ต้องใช้งานไปสักระยะเนื้อบนผิวยางจึงจะสมานเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน
หมายเหตุ : ***คลิกที่ภาพเพื่อขยาย***
- เคสนี้เป็น volvo 960 จะเห็นแผลรูรั่ว ---> ถอดล้อล้างทำความสะอาด ---> ดึงตะปูเกลียวออก ---> ใช้เหล็กแหลมแทงหมุนนำร่อง (ลมในยางมีไม่เยอะ) ---> ร้อยใยไหมที่เข็ม ---> พรมน้ำสบู่ใยไหมเล็กน้อย แทงเข็มลงไปตรงๆ ห้ามหมุน จนถึงเนื้อยางด้านใน เหลือใยไหมไว้ประมาณ 1 ซม. ---> ตอนดึงเข็มจับให้แน่น+ออกแรงดึง+เร็วครั้งเดียวเท่านั้น (ปลายเข็มจะอ่าออกเอง) ---> เติมลมยางเช็ครูรั่วด้วยน้ำสบู่อีกครั้ง จากนั้นตัดใยไหมออกเหลือไว้ 0.5 ซม. เป็นอันเสร็จขั้นตอน ***ขั้นตอนการทำความสะอาดมีส่วนสำคัญไม่ทำให้เกิดรูรั่วซึมซ้ำบริเวณแผลเดิม***
- ใยไหมจะมีลักษณะเป็นเส้นยาวประมาณ 10 ซม. มีกาวยึดในตัว เหนียว ทนทุกสภาพอากาศ ตลอดอายุการใช้งานของยาง
- หากรั่วที่แก้มยางแนะนำให้เปลี่ยนยางใหม่ หรือมือสองสภาพดีเท่านั้น ไม่ควรปะด้วยใยไหม หรือสตรีม
- การปะแบบสตรีมจะปะด้วยความร้อนบริเวณแผล แต่รูจากหน้ายางยังคงอยู่ทำให้สิ่งสกปรกแทรกซึมเข้าหน้ายาง ทำให้โครงสร้างยางผิดรูป บวม
ปะยางล้อรถ, ปะยางเร็ว, ร้อยตัวหนอน, ยัดตัวหนอน, แทงตัวหนอน, อุดรูรั่วด้วยตัวหนอน, ใยหนอนอุดรูรั่ว, แทงเข็มร้อยไหม, ไหมตัวหนอน, สตรีมเย็นยางในจัรยาน, ชุดปะยางฉุกเฉิน, สตรีม vs ตัวหนอน, ปะสตรีมไฟฟ้า, ปะยางแบบไหนอยู่ได้นาน