ท้องที่
"อำเภอกุยบุรี" เดิมเป็นเขตปกครองของอำเภอเมืองประจวบฯ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งภายหลังได้แยกออกมาเป็นจังหวัดประจวบฯ ต่อมาวันที่ 2 ม.ค. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) ได้มีพระบรมราชโองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธุ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นเมืองปราณบุรี (จังหวัดปราณบุรี) ตั้งที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์จึงได้แยกจากเมืองเพชรบุรีมาอยูในการปกครองของเมืองปราณบุรี เป็น "อำเภอประจวบคีรีขันธ์" ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็น "เมืองประจวบคีรีขันธ์"
ต่อมาได้รับการแบ่งแยกพื้นที่เป็น กิ่งอำเภอกุยบุรี ขึ้นตรงกับอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้รับจัดตั้งเป็น
อำเภอกุยบุรี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ได้มีการโอนย้ายตำบลไร่ใหม่ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอสามร้อยยอด
เขตการปกครองแบ่งเป็น
ส่วนภูมิภาค มี 6 ตำบล มีกุยบุรี กุยเหนือ เขาแดง ดอนยายหนู สามกระทาย และหาดขาม และ
ส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง มีเทศบาลตำบลกุยบุรี ไร่ใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี กุยเหนือ เขาแดง ดอนยายหนู สามกระทาย และหาดขาม
เมืองกุยบุรีเป็นเมืองโบราณที่ปรากฏหลักฐานว่า มีมาแล้วตั้งแต่อยุธยาเป็นราชธานี ตังเมืองตั้งอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำกุยบุรีด้านเหนือ มีวัดกุยบุรีเป็นศูนย์กลางเมือง บริเวณเมืองเก่าในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอำเภอกุยบุรี และวัดกุยบุรีก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของชุมชนในปัจจุบันด้วย ผลจากการขยายตัวของมนุษย์ตลอดจนถึงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) และการสร้างทางรถไฟสายใต้ได้ทำลายหลักฐานต่างๆ ของเมืองกุยบุรีโบราณไปจนเกือบหมด ชาวกุยบุรีที่อายุมากได้กล่าวว่าบริเวณด้านตะวันออกของวัดกุยบุรีเป็นที่ตั้งของจวนเจ้าเมืองเดิม เมื่อมีการสร้างถนนเพชรเกษมผ่านตัวเมืองโบราณ และตัดผ่านบริเวณจวนเจ้าเมืองเดิมด้วย จึงแบ่งบริเวณ จวนเมืองออกเป็นสองส่วนเรียกว่า
"จวนบน" และ
"จวนล่าง" นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองโบราณอีกอยู่บ้าง คือ
"ป้อมเชิงเทิน" ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดกุยบุรี ปัจจุบันเป็นสภาพไม่ชัดเจน แต่ยังมีโครงเดิมอยู่บ้าง ป้อมนี้เป็นป้อมทางทิศใต้ของเมืองต่อจากป้อมแห่งนี้ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเป็นเส้นทางโบราณที่ใช้เดินทางข้ามแม่น้ำกุยบุรี ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า
"ท่าข้าม" บริเวณท่าข้ามนี้ใช้เป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำกุยบุรีตลอด แม้กระทั่งการเดินทัพพม่าหากเข้ามาทางด่านสิงขรก็จะต้องข้าม ที่จุดท่าข้ามมายังเมืองกุยบุรีและเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา
จะเห็นว่าเมืองกุยบุรีสร้างขึ้นมาด้วยเงื่อนไขทางยุทธศาสตร์ เป็นหัวเมืองสำคัญในการควบคุมการเดินทางติดต่อระหว่างหัวเมือง
"ผ่ายเหนือ" และ
"ผ่ายใต้" โดยเฉพาะจะมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นเมืองแรกด่านหน้าสุดที่คอยสกัดทัพพม่าที่ยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางด้านเอกสารที่กล่าวถึงเมืองกุยบุรีจะเป็นเอกสารในช่วงกรุงศรีอยุธยา ดั้งนั้นอาจจะประเมินอายุของเมืองกุยบุรีโดยกว้างๆ ได้ว่าเป็นเมืองที่มีมานานแล้วตั้งแต่ช่วงสมัยกรุศรีอยุธยา หลักฐานที่เก่าแก่สุดกล่าวถึงเมืองกุยบุรีคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเยเรเมียสฟาน ฟลีด ซึ่งเขียนในสมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยกล่าวเอาไว้ว่าราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าอู่พระราชโอรสของกรุงจีเดินทางโดยเรือมาเมืองปัตนี จากนั้นได้เดินทางเสด็จโดยทางบกไปยังเมืองลีคร เมื่อครอบครอง และจัดการบ้านเมืองในลีครเรียบร้อยแล้วเสด็จต่อไปยังเมืองกุยบุรีตามพงศาวดารฉบับนี้จะเป็นชื่อเดียวหรือเมืองเดียวกับเมืองกุยบุรี ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด จากการตรวจสอบ พระราชพงศาวดารฉบับอื่นที่ไม่ใช่การบันทึกของชาวต่างชาติก็ไม่พบว่าเมืองกุยบุรีได้มีมานานแล้วตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนต้น
แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวของพระเจ้าอู่ ที่สร้างเมืองกุยบุรีนั้นน่าจะมีเค้าความเป็นจริงตามที่เล่าสืบต่อกันมา เมืองกุยบุรี ประกฎชื่อเป็นหลักฐานแน่ชัดในสมัยสมเด็จพระนเรศวร พระราชพงศาวดาร ได้กล่าวไว้ว่า ณ วันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ 5 ปิจอ อัฐศก(พ.ศ.) กรมการเมืองกุยบุรีบอกเข้ามาว่า พระยาไสยรงค์ ซึ่งให้ไปรั้งเมืองตะนาวศรีเป็นกบฏ หลักฐานเอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เมืองกุยุรีที่มีอยู่แล้วในสมัยพระนเรศวร และน่าจะมีก่อนหน้านั้น แต่คงเป็นเพียงเมืองด่านหน้าเล็กๆ พงศาวดารเรียกเจ้าเมืองว่า กรมการเมือง หากเปรียบเทียบกับเมืองตะนาวศรีจะเห็นว่าผู้ครองเมืองตะนาวศรีมีตำแหน่งเป็นพระยา ดังนั้นสถานภาพของเมืองกุยบุรีก็คงจะเป็นเมืองหน้าด่านเล็กๆ เมืองหนึ่งเท่านั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเมืองกุยบุรีน่าจะพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนระดังเมืองเมื่อกรุงศรีอยุธยาทำศึกสงครามกับพม่าเป็นต้นมา คือน่าจะมีมาก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งที่ 1 โดยเป็นเมืองหน้าด่านแรกที่จะคอยสกัดทัพพม่าที่เดินทางเข้ามาทางด่านสิงขร และจะต้องข้ามแม่น้ำกุยบุรี ที่บริเวณท่าข้ามของเมืองกุยบุรี โดยไม่ใช่เมืองสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม เมื่อมีการพัฒนาเมืองกุยบุรีขึ้นมาในช่วงนี้แล้วก็น่าจะมีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนพร้อมกันด้วย เพื่อจะได้เป็นศูนย์กลางทางด้านจิตใจของชุมชนภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา
เรื่องราวของเมืองกุยไม่ปรากฏชัดนัก เมืองกุยบุรีคงดำรงสถานภาพเป็นเมืองในพระราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยามาตลอด จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเจ้าบรมโกศ) ได้กล่าวถึงเมืองกุยบุรีไว้ว่า ลุศักราช 1109 ปีเถาะ (พ.ศ.2290) พระกุยบุรีออกหนังสือเข้ามาว่า พืชทองคำบังเกิดขึ้นที่ตำบลบางสะพาน แขวงเมืองกุยบุรีได้ส่งทองคำหนัก 3 ตำลึง เข้าทูลเกล้าๆ ถวายเป็นทองคำขาว จะเห็นได้ว่า ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมืองกุยบุรีคงจะฐานะขึ้นเป็นเมืองใหญ่มาก อาณาเขตกว้างมากขึ้น และเจ้าเมืองมีตำแหน่งเป็นพระ นอกจากนี้พงศาวดารยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้โปรดตั้งพระกุยบุรีให้เป็นพระยาวิเศษสมบัติ แสดงให้เห็นว่าเมืองกุยบุรีมีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะเมืองที่มีแหล่งทองคำสมบูรณ์ ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310
เมืองกุยบุรีคงจะเป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยาเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นเมืองหน้าด่านเมืองแรกที่คอยสกัดทัพพม่าที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยา เรื่องของขุนรองปลัดชู นับว่าเป็นวีรบุรุษไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ไม่แพ้วีรชนค่ายบางระจัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ที่ได้ยอมเสียสละชีวิตและเลือดเนื้อ พลีชีพเพื่อชาติไทยในสมรภูมิอ่าวหว้าขาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากการสงครามระหว่างไทยกับพม่า ในปีพ.ศ.2302 พระเจ้าอลองพญาได้สั่งให้ทัพพม่าเข้าโจมตีเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริด ปรากกว่าตีเมืองทั้งสองได้อย่างง่ายดาย เห็นได้ว่าไทยอ่อนแอมาก ถ้าหากยกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาก็คงจะได้ชัยชนะ ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าเอกทัศก็ได้โปรดให้จัดทัพไทบออกไปรับพม่าที่เมืองมะริด และครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญเป็นผู้รู้วิทยาคมเข้ามาเอาเอกสารราชการสงคราม จึงโปรดให้คุมสมัครพรรคพวกรวม 400 คน เป็นกองอาทฆาตไปในกองทัพพระยารัตนาธิเบศร์ด้วย(ไทยรบพม่า)กล่าวกันวาขุนรองปลัดชูได้ไปตั้งทัพที่กุยบุรีและประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ทีวัดกุยบุรี แล้วยกกองทัพอาทฆาตไปยันทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว อำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วัดกุยและวัดกวยคงจะเป็นศูนย์กลางของเมืองกุยบุรีตลอดมาโดยเฉพาะในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อเมืองกุยบุรีมีบทบาทมากขึ้นในฐานะเมืองแร่ทองคำ และสถานภาพของเมืองก็สูงกว่าเดิมมาก วัดทั้งสองก็น่าจะเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นด้วยตามลำดับ ในฐานะศูนย์กลางเมือง แต่หลักฐานที่กล่าวถึงสิ่งก่อสร้างในสมัยนั้นเหลืออยู่ในปัจจุบันน้อยมาก โบราณวัตถุที่พอจะยืนยันได้ว่าวัดกุยเป็นวัดที่เก่าแก่และน่าจะมีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาพร้อมเมืองกุย คือใบเสมาหินทรายโดยโกลนจากหินทรายแดงฐานล่างจะทำเดือยสวมกับแท่น ตัวใบเสมาสลักเป็นลานเส้นนูนต่ำธรรมดา ไม่ได้เป็นลวดลายกนกหรือลวดลายอื่นๆ จากลักษณะรูปแบบศิลป์เห็นได้ชัดว่าอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
นอกจากหลักฐานจากใบเสมาแล้ว จากการสำรวจรากฐานของอุโบสถหลังเก่าพบว่าก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ การก่อสร้างจะใช้วิธีการก่อเรียงสลับกว้างยาว เทคนิคดังกล่าวตลอดจนขนาดของอิฐที่ใช้น่าจะเป็นลักษณะสิ่งก่อสร้างเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แสดงให้เห็นว่า วัดกุยบุรีน่าจะสร้างมาแล้วในกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยอู่ทองอย่างแน่นอน และคงเป็นวัดสำคัญของเมืองกุยบุรี โดยเฉพาะเจ้าเมืองคงจะได้ใช้วัดนี้ประกอบพิธีงานต่างๆ รวมทั้งบำเพ็ญกุศลอีกด้วย ในปีพ.ศ.2500 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในราชการที่ 7 เมื่อครั้งพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ได้เสด็จมายังวัดกุยบุรี มานมัสการและปิดทองหลวงพ่อในกุฏิสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดกุยบุรีและพระองค์ได้ทรงมีพระราชศรัทธา ได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อร่วมบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดกุยบุรีได้อีกจำนวนหนึ่งด้วย วัดกุยบุรีได้มาประสบอัคคีภัยขึ้นเมื่อคืนวันที่ 15 เมษายน 2807 เพลิงไหม้สิ่งปลูกสร้างและอาคารต่างๆ ทีเป็นกุฏิสงฆ์ หอฉัน หอสวดมนต์หมดสิ้น คงเหลือแต่อุโบสถศาลาการเปรียญหลังเก่า
cr :
prachuaptown,
wikipedia