ปัญหาที่พบหลังเปลี่ยนมาใช้ขั้วแบตรถยนต์แบบทองแดงได้ประมาณ 1 ปี ดังนี้
- เนื้อทองแดงมีความอ่อน นิ่ม ยุบตัวได้ง่ายกว่า เมื่อมีการขันน็อต หรือโดนความร้อนสะสมในห้องเครื่องนานๆ
- ขันน็อตยึดสายไฟที่ขั้วบวก และลบ เกลี่ยวยึดด้านล่างจะรูดง่าย (ต้องใช้น็อตตัวเมียล็อคด้านล่างอีกที ค่อนข้างยุ่งยาก) ตัวล็อคสายไฟบน-ล่าง บิดตัวโค้งตามสายไฟ
- เมื่อสวมขั้วแบตขันน็อต ความรู้สึกเหมือนยึดขั้วแบตไม่แน่น เมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะ สามารถขยับเองได้ หลวม สตาร์ทรถติดยาก หรือสตาร์ทไม่ติด
- เมื่อใช้งานไปนานๆ เกิดปฏิกริยาออกไซด์ (Oxide) จะทำให้ทองแดงออกเขียว-ดำทั้งด้านใน และด้านนอก ปล่อยไว้นานๆ มีผลในการจ่ายกระแสไฟฟ้า
ปล.
- ทองเหลืองอาจจะนำกระแสไฟฟ้าไม่ดีเท่ากับทองแดง แต่เมื่อดูเรื่องของความแข็งแรง ทนทาน น็อตเกลียวยึด ตัวล็อคดีกว่าเห็นๆ มั่นใจได้เลยว่าขันแน่นแน่นอน (พอตึงมือ)
- เงิน ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม แม่เหล็กจะไม่ดูด
- เงิน ---> ทองแดง ---> ทองเหลือง ---> อลูมิเนียม ---> สแตนเลส ---> เหล็ก ***ตัวนำไฟฟ้าจากดีสุดไปหาน้อยสุด***
- ปัจุบันมีการนำทองเหลือง ทองแดงไปชุบเงินอีกทีเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกริยาออกไซด์ทำให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น ใช้งานกันได้ยาวๆ
ขั้วแบตเตอรี่รถยนต์, ขั้วแบตทองเหลือง, ขั้วแบตทองแดง, ขั้วยึดสายแบต, ขั้วแบตแบบมีสกรูขัน, ขั้วแบต ขั้วบวก ขั้วลบ, ขั้วแบตอย่างดี, ขั้วแบตตัวนำไฟแบบไหนดีสุด, ขั้วแบตสำหรับรถแต่ง, ลำดับตัวนำไฟฟ้าจากดีสุดไปหาน้อยสุด, ขั้วแบตแบบมีวาล์วเปิดปิด, ข้อเสียของขั้วแบตทองแดง