สำหรับท่านใดที่สตาร์ทรถในตอนเช้ารอบเดียวติด แต่พอหลังจากใช้งานจอดรถกลับมาสตาร์ทแล้วลากรอบยาว หรือสตาร์ทตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปถึงจะติด สาเหตุหลักๆ มาจากเมื่อเครื่องใช้งานมานานๆ แล้วแวะจอดไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อน ไอเบนซิน จากในห้องเครื่องจะระบายเข้ามาที่หม้อกรองอากาศ เมื่อไอน้ำมันเริ่มหนาแน่นมากๆ ระบายออกไม่ทัน อากาศไม่เพียงพอ ผลคือเมื่อเรากลับมาสตาร์ทรถทำให้ต้องสตาร์ทลากรอบยาวแตะคันเร่งช่วยไม่ได้ผล หรือไม่ก็ต้องสตาร์ทหลายครั้งเพื่อระบายไอน้ำมันดังกล่าวถึงจะติดครับ
ไอน้ำมันเครื่องจะถูกดูดกลับเข้าไปใช้ในคาร์บูเพื่อเลี้ยงบ่าวาล์ว แหวนส่วนต่างๆ ป้องกันการสึกหรอ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้ลิ้นปีกผีเสื้อบริเวณปากคาร์บูสกปรก มีคราบเหนียว เปิด-ปิดไม่สนิท หม้อกรองเต็มไปด้วยคราบน้ำมัน ไส้กรองอากาศมีไอน้ำมันเครื่องเกาะหนืดอากาศผ่านไม่สะดวก บางท่านจึงได้ใส่ "ถังดักไอน้ำมันเครื่อง" ซึ่งก็ต้องดัดแปลง หาพื้นที่ติดตั้ง ต้องถอดเทน้ำมันทิ้งอยู่ดี ความหนาแน่นก็ไม่ได้ลดลง และเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า ส่วนใหญ่เห็นถอดทิ้งกันเกือบหมดครับ แต่วิธีที่ผมจะมาแนะนำนั้นทดลองใช้งานจริงมาแล้วกว่า 10 ปีใน volvo 740 b230k 2,320cc 117hp ซึ่งผลที่ได้ดีเกินคาดครับ น้ำมันที่บริเวณปากคาร์บูไม่มีเยิ้มให้เห็นอีก รถสตาร์ทติดง่ายทุกครั้งที่จอดใช้งานมาหนักๆ เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์ ดับเครื่องนิ่งไม่สั่น
โดยนำ 3 ทางทองเหลืองตัวที(T) ขนาด 1/2"(หรือ 12 มิล) ทาบกับสายไอน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่กับเครื่องกับใต้หม้อกรองอากาศ ถอดออกมาวัดให้อยู่กึ่งกลางสายตัดให้พอดี+สวมท่อกลาง(ทำหน้าที่เป็นรูระบายไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อน ไอเบนซิน) วางหลบตามช่องหันปากท่อตามลม หรือจะต่อ "วาล์วกันกลับ" เพิ่มก็ได้ครับให้ออกได้ทางเดียวสำหรับเครื่องที่ไอน้ำมันเครื่องยังไม่มาก แต่ถ้าของท่านใดมีมากใช้งานหนักก็ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ครับเพราะแรงดันไอน้ำมันเครื่องมีสูงมากกว่ากว่าอากาศที่จะดูดเข้าคาร์บูครับ ก่อนนำไปติดตั้งกลับเป็นอันเสร็จขั้นตอน
หลักการคือเมื่อเครื่องทำงานไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อนจะดันเข้าสู่หม้อกรองอากาศโดยตรงไม่ผ่านไส้กรองตามแรงดูด 1 ส่วน ระบายออก 1 ส่วน แต่เมื่อรถใช้งานมาหนักๆ แล้วจอดไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อน ไอเบนซินจะดันออกมาที่รูระบายทั้งหมด เนื่องจากฝั่งหม้อกรองอากาศจะผ่านได้ช้ากว่าเนื่องจากมีไส้กรองอากาศขวางอยู่ ไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อนสะสมสูง ไอเบนซินจะหารูระบายที่ออกง่ายที่สุดครับ ดังนั้นปริมาณไอน้ำมันเครื่อง+ความร้อนที่เข้าสู่ลิ้นคาร์บูจะไม่หนาแน่นเหมือนแต่ก่อน และยังคงมีไอน้ำมันเครื่องมาหล่อเลี้ยงบ่าวาล์วอยู่ในปริมาณที่ลดลงเช่นกัน สามารถดึงอากาศเข้ามาใช้งานได้อย่างเพียงพอ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องมากขึ้นครับ
หมายเหตุ : วิธีนี้จะใช้ได้ดีกับรถที่มีอายุมากแล้ว เลขกิโลเยอะ ใช้งานหนักๆ หรือดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องขึ้นสังเกตว่ามีไอควันขาวๆ ลอยขึ้นจากช่องเสียบหรือไม่? ปากคาร์บูเยิ้มไหม? กรองมีคราบน้ำมันไหม? และดับเครื่องสั่นไหม? หากมีอาการเหล่านี้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ครับ สำหรับเคสนี้ต้องการแค่ลดความหนาแน่นเท่านั้นแนะนำให้ใส่วาล์วกันกลับด้วยนะครับ
ไดฮัทสุ มิร่า, daihutsu mira, มิร่า มิ้น, mira mint, ed10, l80, p4, ไอน้ำมันเครื่อง, ไอน้ำมันเบนซิน, ถังดักไอน้ำมันเครื่อง, ปล่อยไอน้ำมันเครื่อง, diy ระบายไอน้ำมันอย่างง่าย, ลดแรงดันในห้องเครื่อง, ลดแรงดัน, ระบายแรงดัน, ประโยชน์, ไอน้ำมันเครื่องเยอะ, ควันขาวออกสายน้ำมัน้ครื่อง, ควันขาวท่อไอเสีย, ข้อเสีย