ผู้เขียน หัวข้อ: รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!  (อ่าน 6185 ครั้ง)

Autogas

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
วิธีที่ 1 แยกบัญชีอัตโนมัติ - ออมเป็นระบบ

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ โดยตั้งระบบตัดบัญชีโอนเงินออกไปไว้ตามบัญชีรายจ่ายต่างๆที่ตั้งระบบไว้ หากจะใช้วิธีนี้ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายแต่ละส่วนให้แน่นอนว่าเรามีรายจ่ายอะไรบ้าง เราแบ่งรายจ่ายอย่างง่ายออกเป็น 3 ส่วน ตามนี้เลยจ๊ะ 

เงินออม
รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน
เงินรายได้(เงินเหลือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน)
 
 เมื่อได้รับเงินเดือนแล้วก็จะถูกตัดอัตโนมัติไปใส่ไว้ที่ "บัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่าย" ตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ ควรปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบวิธีการใช้ชีวิตของตนเอง บางคนอาจจะมีรายจ่ายน้อยก็อาจจะออมมากกว่า 30% ก็ได้ ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วน 

เงินออม 30%
รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน 45%
ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 25%
 
แนวคิดของวิธีนี้มีเป้าหมายแตกต่างกัน ดังนี้
  1. บัญชีเงินเดือน(เงินรายได้)

==> บัญชีนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่รายได้เข้ามา แต่เป็นที่สุดท้ายที่เราจะได้ใช้ อย่ากดเงินไปใช้อย่างลั้นลาตั้งแต่ครั้งแรกที่เงินเข้าบัญชีเงินเดือน แต่ต้องใช้หลังจากที่หักจากบัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่ายในข้อ 2,3 เรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เงินที่เหลือในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น โดยจะต้องหาวิธียังไงก็ได้ที่ต้องใช้เงินจำนวนนี้ให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนและไม่ก่อหนี้เพิ่ม   

2. บัญชีเงินออม

==> เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ โดยเลือกตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

ระยะสั้น - เงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินเพราะถอนได้ทันทีในเวลาที่รีบใช้เงินก็ฝากไว้กับบัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน
ระยะปานกลาง - เงินเก็บไว้เพื่อลงทุนให้เติบโต เช่น ฝากประจำ กองทุนรวมตลาดทุน โปรแกรมออมทอง โปรแกรมออมหุ้น หุ้นปันผลสูง หุ้นกู้เกรด A
ระยะยาว - เงินเก็บไว้เพื่อเกษียณอายุ เช่น RMF ประกันชีวิตชนิดบำนาญ กบข.(ข้าราชการ)  กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(เอกชน)
 
3. บัญชีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน

==> เป็นรายจ่ายประเภทหนี้สินต่างๆ หรือรายจ่ายประจำที่ชีวิตเราขาดไม่ได้ เช่น

หนี้ที่ต้องจ่าย คือ หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้นอกระบบ
รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน หากไม่จ่ายจะทำให้ชีวิตเราลำบากแน่นอน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หากไม่จ่ายเราก็จะถูกตัดน้ำ ตัดไป ตัดการสื่อสาร
 
วิธีที่ 2 แบ่งเงินใช้วันละ 200 บาท - เป้าหมายชัดเจน
วิธีนี้เป็นของน้องฝ้ายเลขาน้องหมีแห่งดินแดน Aommoney ของเรานี่เอง ด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆที่ทำงานมีแต่ของแพงเพราะทำงานย่านใจกลางเมืองแถวรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ก็ต้องควบคุมรายจ่ายให้ดีเพื่อเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ เก็บเงินทำนม แม้ว่าตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้วแต่ขนาดของนมยังอยู่ระดับประถมอยู่เลย นมโตไม่ทันตามวัยก็ต้องใช้มีดหมอเป็นทางลัด

เมื่อได้รับเงินเดือนน้องฝ้ายจะใช้วิธีตัดรายจ่ายทั้งหมดออกไปก่อน เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศํพท์ กองทุนนม เหลือเท่าไหร่ก็จะใช้วิธีหารเฉลี่ยต่อวัน โดยตั้งใจไว้ว่าใช้ไม่เกิน 200 บาทต่อวัน แล้วก็แลกแบงก์ 100 มาเก็บใส่ถุงแบบนี้ หากทำแบบนี้ต่อไปกองทุนนมของน้องต้องเติบโตขึ้นแน่นอน แฟนเพจช่วยเป็นกำลังใจให้น้องฝ้ายด้วยนะจ๊ะ ^_^

วิธีที่ 3 แบ่งเงินใช้วันละ 120 บาท
  อ่านกระทู้นี้แล้วชอบมากๆ คิดว่าน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้อย่างมาก เราขอเล่าโดยใช้ข้อความในกระทู้ที่ตัดตอนออกมาบางส่วนแล้วแทรกด้วยความคิดเราเพื่ออธิบายเรื่องที่น่าสนใจเป็นสีส้ม (หากต้องการอ่านเรื่องราวทั้งหมดรบกวนคลิกที่ลิงค์ในส่วนของหมายเหตุด้านล่างนะจ๊ะ)   

เริ่มเรื่องกันเลยจ้า...   ทำงานที่โรงพยาบาลได้เกือบๆ ปี เราก็เปลี่ยนงานค่ะ มาทำเอกชนแทน ลักษณะงานก็เปลี่ยนไป ต้องปรับตัวนิดหน่อย  ค่าตอบแทนสูงกว่ารัฐ ประมาณ 3 เท่า งานไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ แต่เน้นการบริการมากกว่า  การแบ่งหน้าที่การจัดการดีกว่าที่เดิมค่ะ ช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนงาน

เราต้องวางแผนการจัดงานเงินใหม่เพราะรายได้เพิ่มขึ้น เราก็ต้องเก็บมากขึ้น ตอนที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเก็บเดือนละ 5,000-7,000 บาท (จากรายได้ หมื่นกว่าบาท) ตอนนี้รายรับประมาณ 4x,xxx บาท  เราเก็บโหดมากค่ะ หักไว้ 3หมื่นบาท/เดือน ไว้เป็นเงินเก็บที่เหลือก็ใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร ค่าห้องพัก ค่าน้ำมัน รวมๆแล้วก็ใช้ประมาณหมื่นกว่าบาท 

Autogas

  • Newbie
  • *
  • Thank You
  • -Given: 0
  • -Receive: 0
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
การกินอยู่อย่างพอเพียง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2019, 05:42:45 PM »
เรื่องกินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคนในครอบครัว กินอยู่อย่างประหยัดไม่ใช่การกินเพื่อให้อิ่มไปแต่ละมื้อโดยไม่เสียเงิน หรือเสียเงินน้อยที่สุดเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงคุณค่าทางสารอาหารที่ได้รับเข้าไปด้วยว่าเพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรือไม่ ยิ่งเด็ก ๆ ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหารหลากหลายไปสร้างเสริมพัฒนาการต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร เรื่องกินจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เช่นกัน แต่อย่าลืมว่าของกินที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีราคาสูงเสมอไป ของกินทั่วไปที่หาซื้อได้ตามท้องตลาด หากรู้จักเลือก รู้จักซื้อ รู้จักนำมาทำกิน ของราคาไม่กี่บาทก็สามารถเป็นของอร่อยของดี มีคุณค่าสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้

 แปลงร่างเป็นพ่อครัวแม่ครัว

          หลายครอบครัวมักเลือกความสะดวกสบายเกี่ยวกับการกินด้วยการซื้อแกงถุง ซื้อก๋วยเตี๋ยว กินอาหารตามสั่ง หรือเลือกไปกินตามร้านอาหาร หากเป็นเช่นนั้นอยากให้สมาชิกในครอบครัวลองพิจารณาการปรุงอาหารกินเองที่บ้านกันสักหน่อยอาจเสียเวลาและเหนื่อยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ความประหยัดจะเกิดขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ แม้ว่าการซื้อของสดในแต่ละครั้งจะมากกว่าการซื้ออาหารสำเร็จรูปมากินในหนึ่งมื้อ แต่อย่าลืมว่าของสดที่นำมาใช้ ก็มักจะนำมาใช้ไม่หมดในคราวเดียว ยังสมารถเก็บมาปรุงเป็นเมนูอื่น ๆ ในมื้อต่อไปได้อีก นอกจากนี้การปรุงอาหารกินเอง คุณพ่อคุณแม่ก็มั่นใจได้ว่าเราเลือกซื้อแต่ของที่มีคุณภาพ ผ่านการล้างการปรุงที่สะอาดและปลอดภัยแน่นอน แถมยังสามารถปรุงรสชาติให้ถูกปากถูกใจสมาชิกในครอบครัว

 พกกระปุกข้าวใบน้อย

          เมื่อหุงข้าวเอง ทำอาหารกินเอง วัตถุดิบพร้อมขนาดนี้ก็น่าจะผูกข้าวกล่องส่วนตัวพกไปกินได้ทุกวัน หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ไปทำงานถึงเวลามื้อกลางวันทีไรมักเบื่อกับการเลือกว่าวันนี้จะกินอะไรดี การผูกข้าวไปกินเองนอกจากจะได้กับข้าวที่อ่อยถูกใจเราแล้ว ยังไม่ต้องเสียเวลาไปรอคิวซื้ออาหารอีกด้วย ประหยัดทั้งเงินประหยัดทั้งเวลาจริง ๆ นอกจากนี้การห่อข้าวกล่องไปให้เด็ก ๆ กินที่โรงเรียน ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่คลายความกังวลไปได้ว่าลูกของเราจะได้กินอาหารที่สะอาด อร่อย และมีคุณค่ากับเขาแน่นอน

 เปลี่ยนสถานที่ช้อปปิ้ง

          แม้ว่าการเลือกซื้อของตามซูเปอร์มาร์เก็ตจะสะดวกสบาย แต่หากคุณพ่อคุณแม่ลองเปลี่ยนบรรยากาศมาเดินซื้อของตามตลาดสดนอกจากจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตอีกแบบหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่ยังได้สนุกกับการต่อรองราคา เจอแม่ค้าใจดีก็อาจได้ของแถมเพิ่มมาให้ อีกทั้งราคาของส่วนใหญ่ไม่ว่าจะผัก ผลไม้ หรือของสด ของแห้ง ก็มักจะมีราคาถูกกว่า นอกจากนี้ยังอาจได้เจอกับผักผลไม้พื้นบ้านต่าง ๆ ที่แม้แต่ตามห้างสรรพสินค้า ก็ยังไม่มีวางขายอีกด้วย

 ดูของเป็น ได้ของดี

          การประหยัดเรื่องการกิน ไม่ใช่เป็นเพียงการซื้อของได้ในราคาถูก แต่ของที่เลือกซื้อมานั้นต้องมีคุณภาพด้วย ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรรู้วิธีการเลือกซื้อของต่าง ๆ เช่น ปลาสดดูอย่างไร ไข่เก่า ไข่ใหม่ต่างกันอย่างไร ผัก ผลไม้ควรเลือกซื้อแบบไหน กะปิที่ดีควรเป็นอย่างไร เครื่องปรุงรสยี่ห้อไหนอร่อยและดี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยพื้นฐานในการเลือกซื้อของที่คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาก่อนการเลือกซื้อเพื่อที่จะได้ของที่มีคุณภาพสมกับราคาที่จ่ายไป

 สำรวจสินค้า เปรียบเทียบราคา

          การเลือกเดินซื้อของต้องใจเย็น ๆ ไม่ใช่เจอปุ๊บซื้อปั๊บ โดยเฉพาะของที่มีวางขายอยู่หลาย ๆ ร้าน สิ่งที่ควรทำคือเดินสำรวจทั้งคุณภาพของและราคาที่ขาย ร้านที่เราเลือกซื้ออาจเป็นร้านที่ขายราคาสูงกว่าเจ้าอื่นนิดหน่อย แต่หากได้ของที่สด ใหม่ และมีคุณภาพกว่าก็ควรยอมจ่ายไป ดีกว่าซื้อของที่ราคาถูกกว่าแต่ของที่ได้มาต้องทิ้งไปเพราะเสียบ้าง เน่าบ้าง ก็จะกลายเป็นการเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

 ของพื้นบ้านประโยชน์มากมี

          ผักผลไม้ล้วนมีคุณค่าคุณประโยชน์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ผัก ผลไม้พื้นบ้านอย่าง กล้วยน้ำว้า สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ ขนุน ฟักทอง แตงกวา ตำลึง ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว บวบ ฯลฯ นอกจากจะมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์กับร่างกาย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลยที่คุณพ่อคุณแม่จะเลือกซื้อหาแต่เฉพาะผัก ผลไม้ที่เป็นของนอก ราคาสูงมาทำกินในครอบครัว โดยเฉพาะเลือกซื้อมาให้เด็ก ๆ ได้กินเป็นพิเศษ เพราะคิดว่าลูกจะได้กินแต่ของดี ๆ มีประโยชน์ ทั้งที่จริงแล้วผัก ผลไม้พื้นบ้านที่มีขายอยู่ทั่วไปนั้นก็มีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยทีเดียว

 ลงแรงปลูกของกินเอง

          หากพอมีเวลาและพื้นที่ อีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ที่คุณพ่อ คุณแม่ และคุณลูกสามารถร่วมมือร่วมใจทำกันได้ ก็คือ ปลูกผักผลไม้ไว้กินเอง นอกจากจะประหยัดแล้ว ยังมีความภูมิใจจากการได้เก็บเกี่ยวและผลิตเอง และเฝ้าดูแลจนสามารถนำมากิน มาใช้ได้จริงอีกด้วย

 รู้จักวิธีเก็บรักษาอาหาร

          บางครั้งของสดที่ซื้อมาอาจไม่ได้นำมาปรุงให้หมดในครั้งเดียว การทำความสะอาดให้เรียบร้อย และจัดแบ่งเก็บในถุงรักษาอาหาร หรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด พร้อมเขียนป้ายกำกับไว้ว่าของชิ้นนั้นคืออะไร ซื้อมาเมื่อไหร่ และเก็บแช่ไว้ในตู้เย็นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีของการเก็บรักษาอาหารอีกทั้งยังสะดวกในการหยิบมาปรุงอีกด้วย แม้กระทั่งอาหารที่ปรุงสำเร็จเมื่อกินไม่หมดก็ควรเก็บในตู้กับข้าวหรืออาจเก็บในตู้เย็นด้วยวิธีการเดียวกับการเก็บรักษาของสด เพียงแต่ควรแยกเก็บคนละที่เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค เพียงเท่านี้ของก็จะไม่เน่าเสียและยังสามารถนำมาอุ่นกินในมื้อต่อไปได้อีกด้วย

 ของเก่าปรุงใหม่

          การทำอาหารถือเป็นความท้าทายอีกแบบหนึ่งสำหรับคุณพ่อบ้านและคุณแม่บ้านในการคิดเมนูอาหารจากของสดแบบเดิมที่มีอยู่ให้กลายเป็นอาหารเมนูใหม่ ๆ ไม่ซ้ำแบบเดิม หรือแม้กระทั่งการนำอาหารหรืของที่สุกแล้วมาปรุงอีกครั้งให้เป็นเมนูใหม่ที่ถูกใจสมาชิกในครอบครัวก็สามารถสร

 

25 พ.ย. 2024
16:53
Today : 77690
Total : 59556809
เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนลบกระทู้ ขอให้สมาชิกทุกท่าน โพสหรือตั้งกระทู้ให้ตรงตามหมวดหมู่ด้วยครับ
roomautoparts@hotmail.com | me
2014 Room Autoparts All Rights Reserved